aaa
 
หน้าแรก | ผลิตภัณฑ์ กิจกรรมงานบุญ | ติดต่อกับผู้ผลิต | 
ค้นหาผลิตภัณฑ์  
 
 
 
 
 
 
เครื่องดื่มชนิดผงพร้อมชง
และเครื่องดื่มชนิดน้ำพร้อมดื่ม
ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
ทั้งชนิดน้ำพร้อมดื่ม และชนิดแคปซูล บรรจุแผง / ขวด
 
 
 
 
 
ข้าวกล้องเพาะงอกเบญจกระยาทิพย์
ที่มาของกาแฟ
กระดูกอ่อนฉลามและคอลลาเจน
ที่มาของรังนก
INS 401 คืออะไร
คารายากัม คืออะไร
งานวิจัยซุปไก่สกัด
กลูตาไธโอนคืออะไร
ความเป็นมาของกำลังช้างสาร
สรรพคุณของโชวู
Coenzyme Q10 คืออะไร
โสมกับสุขภาพ
ประโยชน์ของตังถั่งเช่า
สรรพคุณของจับเลี้ยง
ความเป็นมาของทุเรียน
ความเป็นมาของเห็ดหลินจือ
ความเป็นมาของเห็ดไมตาเกะ
ความเป็นมาของตังกุย
ประโยชน์ของเห็ดจีซง
ถาม - ตอบ เรื่องเอนไซม์
ประวัติของโรคเบาหวาน
ความเป็นมาของน้ำมันมะพร้าว
ประโยชน์ของเขากวางอ่อน
ประโยชน์ของผลส้มแขก
ประโยชน์ของจันทน์เทศ
ประโยชน์ของชาใบหม่อน
คุณค่าของมะรุม
ความเป็นมาของผลหม่อน
ประโยชน์ของเมล็ดองุ่นแดง
สรรพคุณของดอกคำฝอย
สรรพคุณของไข่มุก
สรรพคุณของโกฐหัวบัว
สรรพคุณของโกฐเขมา
สรรพคุณของอึ้งคี้หรือปักคี้
สรรพคุณของกำลังวัวเถลิง
สรรพคุณของกำลังหนุมาน
สรรพคุณของกระชายดำ
สรรพคุณของแปะก๊วย
ประโยชน์ของม้าน้ำ
ความเป็นมาของผักชีลาว
สรรพคุณของดอกอัญชัน
สรรพคุณของดอกทองพันชั่ง
สรรพคุณของว่านหางจระเข้
สรรพคุณของใบบัวบก
สรรพคุณของนมผึ้ง
สรรพคุณของต้นไหลเผือก
สรรพคุณของพลูคาว
ความเป็นมาขององุ่น
สรรพคุณของมังคุด
สรรพคุณของหัวไชเท้า
คุณสมบัติของต้น Wicth Hazal
 
 
 
 
 
 
เครื่องดื่มชนิดผงพร้อมชง
และเครื่องดื่มชนิดน้ำพร้อมดื่ม
ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารทั้งชนิดน้ำ
พร้อมดื่ม และชนิดแคปซูล
บรรจุแผง / ขวด
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ไทยรัฐ
ข่าวสด
เดลินิวส
มติชน
สยามธุรกิจ
บ้านเมือง
แนวหน้า
กรุงเทพธุรกิจ
โพสต์ทูเดย
 
 
 
 
 
 
นฬปานชาดก
ตโยธัมมชาดก
วัณณุปถชาดก
ติตติรชาดก
วานรินทชาดก
มหิฬามุขชาดก
มหาอุกกุสชาดก
ติปัลลัตถมิคชาดก
มหาวาณิชชาดก
พระจูฬปันถกเถระ
พกชาดก
มุณิกชาดก
 
 
 
 

 
The International Numbering System for Food Additives (INS)
หรือ ระบบเลขหมายสากลสำหรับวัตถุเจือปนอาหาร
INS 401 Sodium Alginate
( (A401 หรือ E401) A : ออสเตรีย , E : สหภาพยุโรป )
 
โซเดียมอัลจิเนต sodium alginate เป็นสารไฮโดรคอลลอยด์ (hydrocolloid)
ที่ทำให้อาหารที่ถูกผสมมีลักษณะข้นและหนืดขึ้นจนถึงเป็นเจล หรือคงรูปร่างได้ได้เมื่อเจอกับแคลเซียม
ซึ่งเป็นเจลที่ทนต่อความร้อน (thermoirreversible gel) หรือไม่เปลี่ยนไป-มาเมื่อได้รับความร้อน
จัดอยู่ในสารประเภทเดียวกับพวกผงวุ้น เจลาติน คาร์ราจีแนน กัวกัม และแป้ง
อัลจิเนตยังใช้เคลือบผิวเนื้อปลาก่อนนำไปแช่เยือกแข็ง เพื่อป้องกันไม่ให้ปลาเกิดการไหม้ (freezer burn)
นอกจากนี้อัลจิเนตยังใช้เป็นสารเพิ่มคงตัวให้กับไอศครีม น้ำสลัด และใช้เป็นสารเพิ่มความคงตัวให้กับโฟม เป็นต้น
 
แอลจิเนตสกัดได้จากผนังเซลล์ของสาหร่ายสีน้ำตาล (brown algae)
เช่น Macrocystis pyrifera, Laminaria digitata, Laminaria hyperborea และผ่านการทำแห้ง มีลักษณะเป็นผง
 
ลักษณะทั่วไป :
- อยู่ในรูปของสารประกอบผสมของเกลือแคลเซียม แมกนีเซียม โซเดียม
  และโพแทสเซียมของกรดแอลจินิก (alginic acid) ซึ่งละลายได้ในน้ำ
- ทำให้เกิดเจลได้ หรือเป็นสารก่อเจล (gelling agent) ซึ่งเป็นเจลที่ทนต่อความร้อน (thermoirreversible gel)
  หรือไม่เปลี่ยนไป-มาเมื่อได้รับความร้อน
 
การใช้แอลจิเนตในอาหาร
กรดแอลจินิก (alginic acid) และแอลจิเนต ใช้เป็นวัตถุเจือปนอาหาร (food additive)
 
-number                 Name (s)
   E400                  alginic acid
   E401                  Sodium alginate
   E402                  Potassium alginate
   E403                  Ammonium alginate
   E404                  Calcium alginate
   E405                  Propane-1,2-diol alginate (Propylene glycol alginate)
 
วัตถุประสงค์การใช้
- Bulking agent
- Carrier
- Emulsifier
- Foaming agent
- Gelling agent ใช้เป็นสารที่ทำให้เกิดเจล (gelling agent) ในไส้ขนม เบเกอรี (bakery)
- Glazing agent
- Humectant
- Sequestrant
- Stabilizer
- Thickening agent
- หูฉลามเทียม
 
คัดลอกข้อมูลจาก :
http://www.foodnetworksolution.com/wiki/word/2568/alginate-แอลจิเนต
 

 
ประกาศจากสหภาพยุโรป
 
ด้วยในวันที่ 13 กันยายน 2557 สหภาพยุโรปได้ออกประกาศ Commission Regulation (EU) No 969/2014
of 12 September 2014 amending Annexes II to Regulation (EC) No 1333/2008 of the European Parliament
and of the Council as regards the use of Calcium ascorbate (E 302) and Sodium alginate (E 401)
in certain unprocessed fruit and vegetables ใน EU Official Journal L 272/8 ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
 
1. กฎระเบียบใหม่นี้เป็นการแก้ไข Annex II ของ Regulation (EC) No 1333/2008
    ซึ่งเป็นบัญชีรายชื่อวัตถุเจือปนอาหาร (food additives) กลุ่มที่มีคุณสมบัติเชิงเทคนิค (technical function)
    การแก้ไขในครั้งนี้ สืบเนื่องจากการที่มีผู้ประกอบการใน EU ยื่นคำร้องเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2555
    ขออนุญาตใช้ Calcium ascorbate (E 302) และ Sodium alginate (E 401) เป็นสารคลือบผิว (glazing agent)
    ในผลไม้และผักที่ไม่ได้ผ่านการแปรรูปและอยู่ในลักษณะบรรจุห่อแช่เย็นพร้อมรับประทาน
    ซึ่งปัจจุบันผลไม้และผักที่จำหน่ายในลักษณะดังกล่าว กำลังเป็นที่นิยม เนื่องจากสะดวกในการบริโภค
    และมีประโยชน์ต่อร่างกาย อย่างไรก็ดี ผลไม้และผักสดในบรรจุภัณฑ์ พร้อมรับประทานจะมีอายุบนชั้นวางจำหน่าย
    ค่อนข้างสั้นเพราะต้องสัมผัสกับออกซิเจนและแสง ทั้งยังต้องผ่านกระบวนการปอกเปลือก หั่น หรือคว้านแกนกลางออก
    ซึ่งทำให้ช้ำ เน่าเสีย และสีผิวเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้มได้ง่าย ส่งผลให้คุณค่าทางอาหารลดน้อยลงไป
 
2. ผลดีของการใช้ Calcium ascorbate (E 302) ร่วมกับ Sodium alginate (E 401) คือ
    วัตถุเจือปน ดังกล่าวจะเป็นเสมือนเจลใสที่เคลือบผิวผลไม้และผักสด ช่วยชะลอการเสื่อมสภาพของผลไม้
    และผัก คงความสดและ คุณค่าอาหารไว้
 
3. Calcium ascorbate (E 302) และ Sodium alginate (E 401) อยู่ในกลุ่มสารเสริมที่ EU
    ไม่ได้กำหนดค่าที่ร่างกายสามารถรับได้ต่อวันโดยไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ (Acceptable Daily Intake : ADI)
    เนื่องจากเป็นสารที่ไม่มีความเสี่ยงต่อผู้บริโภค เพราะผู้ประกอบการจะใช้สารดังกล่าวในปริมาณเท่าที่จำเป็น
    เพื่อให้ได้ผลทางเทคนิคที่ต้องการเท่านั้น ดังนั้น หน่วยงานความปลอดภัยด้านอาหารประจำสหภาพยุโรป
    (European Food Safety Authority : EFSA) จึงไม่ต้องประเมินความปลอดภัยในการใช้สารทั้ง 2 รายการดังกล่าวในครั้งนี้
 
4. ปัจจุบัน EU อนุญาตให้ใช้ Calcium ascorbate (E 302) ในอาหารกลุ่ม 04.1.2 คือ กลุ่ม ผลไม้และผักปอกเปลือก
    หั่นเป็นชิ้น และหั่นฝอย ตามเงื่อนไขที่ว่า “ใช้เฉพาะกับผลไม้และผักที่ไม่ได้ผ่านการแปรรูป แช่เย็น
    บรรจุห่อพร้อมแก่การรับประทาน และกับมันฝรั่งที่ไม่ได้ผ่านการแปรรูป ผ่านการปอกเปลือกและบรรจุห่อ
    ในการนี้ EU จึงเห็นควรเพิ่มเติมการอนุญาตให้ใช้ Sodium alginate (E 401) กับอาหาร กลุ่มเดียวกันได้ คือ
    กลุ่ม 04.1.2 ผลไม้และผักปอกเปลือก หั่นเป็นชิ้น และหั่นฝอย โดยกำหนดค่าการใช้งานที่ระดับ 2,400 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
    ทั้งนี้ หากใช้ควบคู่กับ Calcium ascorbate (E 302) ในรูปของเจลใสที่บริโภคได้จะ กำหนดค่าการใช้งานสูงสุดไว้ที่ระดับ
    800 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
 
5. กฎระเบียบดังกล่าวจะมีผลตามกฎหมาย 20 วันหลังวันที่มีการประกาศลงใน EU Official Journal
    แล้วเป็นต้นไป (ประกาศ ณ วันที่ 13 กันยายน 2557)
 
คัดลอกข้อมูลจาก :
http://www2.thaieurope.net/eu-อนุญาตให้ใช้-calcium-ascorbate-e-e-302-และ-sodium-e-401-ใ/
 

 
 
 
 
 
 
| หน้าแรก | ผลิตภัณฑ์ | ข้อมูลวิชาการ | วิธีการสั่งซื้อ - ชำระเงิน | วิธีการรับจ้างผลิตสินค้า | ติดต่อผู้ผลิต | กิจกรรมงานบุญ | เกี่ยวกับเรา | ติดต่อผู้แทนจำหน่าย |
 
aaa